ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลโรค: ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension-type headache/TTH)  (อ่าน 810 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 510
    • ดูรายละเอียด
ข้อมูลโรค: ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension-type headache/TTH)
« เมื่อ: วันที่ 24 พฤศจิกายน 2023, 17:24:30 น. »
ปวดศีรษะจากความเครียด* (ปวดศีรษะแบบตึงเครียด ก็เรียก) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ประมาณร้อยละ 80-90 ของผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ จะมีสาเหตุจากโรคนี้

โรคนี้พบได้ในทุกวัย มักเริ่มอาการครั้งแรกตั้งแต่วัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว (มีโอกาสน้อยมากที่จะมีอาการครั้งแรกหลังอายุ 50 ปี) และพบมีอาการกำเริบบ่อยในช่วงอายุ 20-50 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 1.5-2 เท่า

* มีชื่อเรียกอื่น เช่น tension headache, muscle contraction headache, psychogenic headache, psychomyogenic headache


สาเหตุ

แต่เดิมเชื่อว่าเกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและใบหน้า ปัจจุบันพบว่า ภาวะดังกล่าวเป็นอาการแสดงของโรคไม่ใช่สาเหตุ ส่วนสาเหตุและกลไกการเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าเกิดจากการกระตุ้นของสิ่งเร้าที่กล้ามเนื้อและพังผืดบริเวณรอบกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทเกิดขึ้นตรงประสาทส่วนกลาง (อาจเป็นที่บางส่วนของไขสันหลังหรือเส้นประสาทสมองเส้นที่ 5) แล้วส่งผลกลับมาที่เนื้อเยื่อรอบกะโหลกศีรษะ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว หรือมีการเปลี่ยนแปลงของสารส่งผ่านประสาท (เช่น ซีโรโทนิน เอนดอร์ฟิน โดพามีน) ในเนื้อเยื่อดังกล่าว ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ

ส่วนใหญ่มักพบว่ามีสาเหตุกระตุ้น ได้แก่ ความเครียด (มักจะเกิดขึ้นในช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ หลังจากคร่ำเคร่งกับการงาน) หิว (กินอาหารผิดเวลา) อดนอน ตาล้าหรือเพลีย (eyestrain)

นอกจากนี้ยังอาจพบร่วมกับโรคไมเกรน โรควิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์หรือการปรับตัว


อาการ

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตื้อ ๆ หนัก ๆ ที่ขมับ หน้าผาก กลางศีรษะหรือท้ายทอยทั้ง 2 ข้าง หรือทั่วศีรษะ หรือปวดรอบศีรษะคล้ายเข็มขัดรัด นาน 30 นาทีถึง 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มักจะเป็นนานเกิน 24 ชั่วโมง บางรายอาจนานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือเป็นแรมเดือน โดยอาการปวดจะเป็นอย่างคงที่ ส่วนใหญ่จะปวดเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง ส่วนน้อยอาจรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรประจำวัน ผู้ป่วยจะไม่มีคลื่นไส้ อาเจียน และไม่เป็นมากขึ้นเมื่อถูกแสง เสียง กลิ่น หรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกายแบบไมเกรน

ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะตั้งแต่หลังตื่นนอนหรือในช่วงเช้า ๆ บางรายอาจปวดตอนบ่าย ๆ หรือเย็น ๆ หรือหลังจากได้คร่ำเคร่งกับงานมาก หิวข้าว หรือขณะมีเรื่องคิดมาก วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ


ภาวะแทรกซ้อน

อาจมีผลต่อจิตใจ เช่น ความวิตกกังวล เบื่องาน แยกตัวจากสังคม เสียสมาธิ กระทบต่อการงานหรือการเรียน


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการเป็นหลัก

การตรวจร่างกายมักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน

บางรายอาจพบอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อหรือจุดที่กดเจ็บในบริเวณรอบ ๆ ศีรษะ ท้ายทอย หลังคอ หรือไหล่

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคปวดศีรษะจากความเครียด

1. มีอาการปวดศีรษะมาอย่างน้อย 10 ครั้ง ซึ่งมีลักษณะเข้าได้กับข้อ 2-4*

2. ปวดแต่ละครั้งนาน 30 นาทีถึง 1 สัปดาห์

3. มีลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย 2 อย่าง

    ปวดแบบตื้อ ๆ หนัก ๆ หรือบีบรัด ไม่ปวดตุบ ๆ
    รุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง (ไม่เป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรประจำวัน)
    ปวดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง
    ไม่ปวดมากขึ้นเวลาขึ้นบันได หรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย

4. มีลักษณะต่อไปนี้ทั้ง 2 อย่าง

    ไม่มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน
    ไม่มีอาการกลัวแสง และกลัวเสียง หรือมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น


* ถ้ามีอาการปวดศีรษะน้อยกว่า 15 วัน/เดือน เรียกว่า โรคปวดศีรษะจากความเครียดชนิดครั้งคราว (episodic tension-type headache) แต่ถ้ามีอาการมากกว่า 15 วัน/เดือน เรียกว่า โรคปวดศีรษะจากความเครียดชนิดเรื้อรัง (chronic tension-type headache)


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

1. แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว และให้ยาแก้ปวด หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์

ถ้ามีอาการนอนไม่หลับ ให้ยานอนหลับ กินก่อนนอน

ในรายที่มีความวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า ก็ให้การดูแลรักษาแบบเดียวกับโรคกังวลทั่วไป หรือโรคซึมเศร้า

2. ถ้าปวดรุนแรง ปวดถี่หรือปวดแรงขึ้นทุกวัน ปวดมากตอนดึกหรือเช้ามืดจนทำให้สะดุ้งตื่น เป็น ๆ หาย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือสงสัยว่าอาจมีสาเหตุร้ายแรง แพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด เช่น ถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

3. ถ้าเป็นโรคปวดศีรษะจากความเครียดที่ดื้อต่อยาแก้ปวด แพทย์อาจให้การรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น กายภาพบำบัด เทคนิคการผ่อนคลาย (relaxation technique) จิตบำบัด การกระตุ้นประสาทด้วยไฟฟ้า (TENS) การฉีดสารโบทูลิน (มีชื่อการค้า เช่น Botox) การฝังเข็ม เป็นต้น

4. ในรายที่มีอาการกำเริบ มากกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ และแต่ละครั้งปวดนานมากกว่า 3-4 ชั่วโมง หรือปวดรุนแรง หรือต้องใช้ยาแก้ปวดบ่อยมาก แพทย์อาจพิจารณาให้กินยาป้องกัน ได้แก่ อะมิทริปไทลีน,ฟลูออกซีทีน หรือ โทพิราเมต ติดต่อกันนาน 1-3 เดือน


การดูแลตนเอง

ถ้ามั่นใจหรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปวดศีรษะจากความเครียด  ควรดูแลตนเองดังนี้

    นอนหลับหรือนั่งผ่อนคลายอารมณ์สักพักหนึ่ง นวดต้นคอและขมับด้วยมือหรือทานวดด้วยยาหม่อง ประคบด้วยความร้อนหรือความเย็น
    กินยาแก้ปวด - พาราเซตามอล* หรือยาที่แพทย์แนะนำ

ควรปรึกษาแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    ปวดศีรษะรุนแรง เวียนศีรษะมาก อาเจียนมาก หรือมีไข้สูง
    ปวดถี่หรือปวดแรงขึ้นทุกวัน ปวดมากตอนดึกหรือเช้ามืดจนทำให้สะดุ้งตื่น
    มีอาการตาพร่ามัวไม่หาย หรือ ตาเห็นภาพซ้อน
    แขนขาชา อ่อนแรง เดินเซ หรือ ชักกระตุก
    มีความคิดฟุ้งซ่าน อารมณ์เครียดหรือซึมเศร้า หรือนอนไม่หลับ
    มีประวัติการแพ้ยา สตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หรือมีโรคตับ โรคไต หรือประจำตัวอื่น ๆที่มีการใช้ยาหรือแพทย์นัดติดตามการรักษาอยู่เป็นประจำ
    หลังกินยา มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
    ดูแลตนเอง 1 สัปดาห์แล้วไม่ทุเลา
    มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะดูแลตนเอง

*เพื่อความปลอดภัย ควรขอคำแนะนำวิธีและขนาดยาที่ใช้ ผลข้างเคียงของยา และข้อควรระวังในการใช้ยา จากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะการใช้ยาในเด็ก สตรีที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวหรือมีการใช้ยาบางชนิดที่แพทย์สั่งใช้อยู่เป็นประจำ


การป้องกัน

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะจากความเครียดเป็นประจำ ควรปฏิบัติตัว ดังนี้

    นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าอดนอน
    อย่าคร่ำเคร่งกับการงานจนเกินไป ควรพักทำงานเป็นระยะ ๆ
    หลีกเลี่ยงการใช้สายตาจนเมื่อยล้า ถ้าทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออ่านเอกสารหนังสือ ควรนั่งในท่าที่เหมาะสม ควรพักสายตาและเคลื่อนไหวหรือบริหารกล้ามเนื้อคอเป็นครั้งคราว
    อย่าปล่อยให้หิว หรือกินอาหารผิดเวลา
    ออกกำลังกายเป็นประจำ
    หาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น สวดมนต์ ทำสมาธิ ฝึกโยคะ รำมวยจีน ฟังเพลง เป็นต้น


ข้อแนะนำ

1. ปวดศีรษะจากความเครียด ถือเป็นภาวะที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่อาจเป็น ๆ หาย ๆ ได้บ่อย อย่างไรก็ตาม ก่อนจะวินิจฉัยโรคนี้ ควรตรวจวัดความดัน และตรวจดูอาการให้ถ้วนถี่จนแน่ใจว่าไม่มีสาเหตุที่ร้ายแรงเสียก่อน

2. ปวดศีรษะจากความเครียด ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดตื้อ ๆ หนัก ๆ ที่ขมับ หน้าผาก กลางศีรษะหรือท้ายทอยทั้ง 2 ข้าง หรือทั่วศีรษะ หรือปวดรอบศีรษะคล้ายเข็มขัดรัด ปวดแบบคงที่และยังทำงานได้เป็นปกติ ไม่มีอาการปวดตุบ ๆ หรือคลื่นไส้อาเจียน

ประมาณร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยที่ปวดศีรษะจากความเครียด อาจมีอาการปวดศีรษะข้างเดียวคล้ายไมเกรน (ซึ่งจะมีอาการปวดตุบ ๆ ที่ขมับ) ซึ่งบางครั้งอาจแยกกันไม่ชัด หรืออาจพบร่วมกัน ก็ควรให้การรักษาแบบไมเกรนไปพร้อมกันด้วย

3. ในรายที่เป็นเนื้องอกสมองระยะแรกอาจมีอาการปวดศีรษะไม่มาก คล้ายปวดศีรษะจากความเครียดก็ได้ แต่ต่อมาจะปวดถี่ขึ้นและแรงขึ้น มักจะปวดตอนดึกหรือเช้ามืดจนทำให้สะดุ้งตื่นทุกวัน และเป็นเรื้อรัง ดังนั้นถ้าพบคนที่มีอาการปวดศีรษะในลักษณะดังกล่าว หรือเป็น ๆ หาย ๆ นานเกิน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์

4. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หากมีอาการปวดศีรษะจากความเครียด อาจมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น กระดูกคอเสื่อม การบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ การอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น จึงควรค้นหาและแก้ไขภาวะเหล่านี้ พร้อมกันไปด้วย

5. การใช้ยาแก้ปวดในการรักษาโรคนี้บ่อยเกินไปอาจเป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะจากการขาดยา (rebound headache) ได้ จึงควรระวังอย่าใช้ยามากเกิน และควรเน้นที่การปฏิบัติตัวต่าง ๆ

6. ผู้ที่เป็นโรคปวดศีรษะจากความเครียดชนิดเรื้อรัง อาจมีสาเหตุจากโรคซึมเศร้าแฝงเร้นอยู่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจดูอาการของโรคซึมเศร้า และให้การรักษาภาวะนี้ร่วมไปด้วย



ข้อมูลโรค: ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension-type headache/TTH)  อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions

 






















































รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย