การตรวจบำรุงระบบดับเพลิงให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลานั้น เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะอุบัติเหตุจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือสาเหตุต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดอัคคีภัยมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ และถ้าหากเกิดเหตุไม่คาดฝันอย่างเหตุไฟไหม้ขึ้นมาเมื่อไหร่ ระบบดับเพลิงที่ไม่สามารถใช้งานได้ หรือปั๊มน้ำดับเพลิงเกิดการชำรุด ก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สิน อย่างที่คุณไม่สามารถคาดการณ์ได้เลย
ระบบสูบน้ำดับเพลิงชำรุดเกิดจากสาเหตุอะไร?
กฎเหล็กที่ทำจะให้ระบบสูบน้ำดับเพลิงในสถานประกอบการของคุณมีประสิทธิภาพ จะมีอยู่ด้วยกัน 5 ข้อ ซึ่งถ้าคุณละเลยสิ่งเหล่านี้ไป ก็อาจกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบสูบน้ำและปั๊มน้ำดับเพลิงชำรุด หรือเกิดความเสียหายจนใช้งานไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจส่งผลให้ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ทั้งระบบ กลายเป็นค่าใช้จ่ายที่บานปลายในที่สุด เรามาดูกันว่า สิ่งที่คุณจะต้องดูแลให้พร้อมทั้ง 5 ข้อ มีอะไรบ้าง
1. แหล่งน้ำที่ใช้ต้องไม่สกปรก
แหล่งน้ำที่ใช้ในระบบดับเพลิงจะต้องเป็นน้ำที่สะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อน เนื่องจากสิ่งสกปรกอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์ของระบบสูบน้ำดับเพลิงตัน จนไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น ก่อให้เกิดความร้อนสะสม และอาจทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมากมายจนทำให้ระบบดับเพลิงของคุณเสียหายในที่สุด
ในส่วนของน้ำสะอาดที่ได้มาตรฐาน หลาย ๆ สถานประกอบการอาจมองข้ามไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว แหล่งน้ำสะอาดที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 2 แหล่ง ดังนี้
แหล่งน้ำธรรมชาติ: บ่อน้ำที่ขุดไว้ภายในสถานประกอบการ อาจมีการวางผ้าใบเพื่อป้องกันสารหรือแร่ธาตุปนเปื้อน
ถังน้ำสำรอง: ติดตั้งสำหรับระบบดับเพลิงโดยเฉพาะ โดยน้ำที่อยู่ในถังสำรองจะต้องมีความสะอาดตรงตามมาตรฐานการใช้งานของระบบสูบน้ำดับเพลิง
2. ไม่ได้ใช้งานระบบดับเพลิงเป็นเวลานาน
ภายในระบบดับเพลิงมีเครื่องยนต์ที่ทำหน้าที่เป็นกลไกในการทำงาน ซึ่งการที่เครื่องยนต์ถูกปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหากับตัวเครื่องได้ ดังนั้น การทดสอบระบบและตรวจสอบการเดินเครื่องอย่างสม่ำเสมอตามกฎหมาย หรือตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยภายในโรงงาน พ.ศ. 2552 จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นการทดสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงในทุก ๆ สัปดาห์ ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์ได้ทำงานอย่างสม่ำเสมอ และไม่ก่อให้เกิดสนิม หรือเกิดการชำรุดเมื่อต้องใช้งานจริงในยามฉุกเฉิน
3. ข้อต่อหัวจ่ายน้ำดับเพลิงมีน้ำรั่วซึม
หนึ่งในสาเหตุที่มักจะทำให้ระบบสูบน้ำมีปัญหา คือน้ำที่รั่วซึมบริเวณข้อต่อหัวจ่าย ซึ่งมีต้นเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของซีลยางหัวเสียบสายน้ำดับเพลิง จนทำให้การซีลน้ำไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร ก่อให้เกิดปัญหา “ความดันในท่อระบบน้ำดับเพลิงตก” ส่งผลให้จ๊อกกี้ปั๊มที่รักษาแรงดันน้ำขัดข้อง ในที่สุดปั๊มน้ำดับเพลิงก็อาจจะชำรุดได้
4. มองข้ามการทำ PM บำรุงรักษาระบบดับเพลิง
การทำ PM หรือการบำรุงรักษาระบบดับเพลิงประจำปีนับว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่สถานประกอบการไม่ควรมองข้าม เพราะการตรวจสอบว่าระบบดับเพลิงของคุณสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ จะส่งผลต่อการใช้งานจริงในยามฉุกเฉินเมื่อต้องเจอกับเหตุอัคคีภัย และหากเครื่องยนต์เกิดมีสนิม หรือมีการทำงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้งานก็จะทำให้ไม่สามารถใช้ได้อย่างเต็มกำลัง และอาจส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมเพลิงให้ลดความเสียหายได้เท่าที่ควร
5. ไม่ได้รับการตรวจรับรองประจำปี
หลายครั้งที่ปัญหาระบบดับเพลิงมาจากการมองข้ามการตรวจสอบ หรือการทดลองระบบเพื่อเช็กประสิทธิภาพการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการตรวจรับรองระบบดับเพลิงประจำปีที่จะช่วยบอกถึงปัญหาการทำงาน พร้อมแนวทางการปรับปรุงแก้ไขอย่างละเอียดจากคำแนะนำของวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการใช้บริการตรวจระบบดับเพลิงที่มีความเป็นมืออาชีพ และมีความรู้เฉพาะทางก็จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างครอบคลุม พร้อมป้องกันการเสียหายในระยะที่อาจเกิดขึ้นได้
ตรวจสอบระบบปั๊มน้ำดับเพลิงเบื้องต้น
อุปกรณ์สำคัญในระบบดับเพลิงอย่าง “ปั๊มน้ำดับเพลิง” นั้น มีหน้าที่ช่วยขับเคลื่อนน้ำจากแหล่งน้ำสำรองไปยังตู้ดับเพลิงหรือสปริงเกอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าระบบขาดการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอก็อาจทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มกำลัง และเกิดเหตุขัดข้องได้ในยามฉุกเฉิน
อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบระบบปั๊มดับเพลิงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยภายในโรงงาน พ.ศ. 2552 โดยมีวิธีตรวจสอบระบบปั๊มน้ำดับเพลิงที่สามารถดำเนินการเบื้องต้นได้ง่าย ๆ ดังนี้
การตรวจน้ำสำรอง
การตรวจเครื่องยนต์
การตรวจสอบเชื้อเพลิงสำรอง
การตรวจสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
การตรวจปั๊มน้ำดับเพลิง, Jockey Pump
การตรวจระบบสตาร์ทแบบมือและแบบอัตโนมัติ
การตรวจวาล์วน้ำทั้งหมด
การตรวจสายฉีดน้ำและตู้เก็บสายฉีด
การตรวจข้อต่อสายต่าง ๆ
การตรวจระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง
การทดสอบประสิทธิภาพปั๊มน้ำดับเพลิง
ตรวจสอบสภาพเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
การทดสอบประสิทธิภาการทำงานของระบบดับเพลิง
สรุปผลการตรวจสภาพระบบดับเพลิง และแนะแนวทางแก้ไขเบื้องต้น
ซ่อมบำรุงอาคาร: ปัญหาระบบสูบน้ำดับเพลิง และวิธีตรวจสอบปั๊มน้ำดับเพลิงที่เหมาะสม อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/