ผู้เขียน หัวข้อ: Doctor At Home: ริดสีดวงตา (Trachoma)  (อ่าน 17 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 510
    • ดูรายละเอียด
Doctor At Home: ริดสีดวงตา (Trachoma)
« เมื่อ: วันที่ 15 ตุลาคม 2024, 11:55:36 น. »
Doctor At Home: ริดสีดวงตา (Trachoma)

ริดสีดวงตา เป็นโรคตาอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยในพื้นที่ที่แห้งแล้ง กันดาร มีฝุ่นมาก และมีแมลงหวี่แมลงวันชุกชุม

การอักเสบจะเป็นเรื้อรังเป็นแรมเดือนแรมปี และอาจติดเชื้ออักเสบซ้ำ ๆ หลายครั้ง เนื่องจากภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้มักมีอยู่เพียงชั่วคราว ทำให้เกิดแผลเป็นที่บริเวณเปลือกตาบน ซึ่งจะดึงรั้งให้เปลือกตาม้วนเข้าด้านใน ทำให้ขนตาแยงเข้าด้านในไปตำถูกกระจกตาเกิดการอักเสบและเป็นแผลกระจกตา ทำให้ตาบอดได้

ปัจจุบันพบได้ประปรายในบ้านเรา พบได้ในคนทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กก่อนวัยเรียนที่พ่อแม่ปล่อยให้เล่นสกปรก

สาเหตุ

เกิดจากการติดเชื้อริดสีดวงตาซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า คลามีเดียทราโคมาติส (Chlamydia trachomatis) ติดต่อโดยการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง ทำให้เชื้อจากคนที่เป็นโรคแพร่ไปเข้าตาของอีกคนหนึ่ง บางครั้งอาจติดต่อผ่านทางผ้าเช็ดตัว เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกัน หรือผ่านทางแมลงหวี่ แมลงวันที่มาตอมตา นำเชื้อจากคนหนึ่งไปให้อีกคนหนึ่ง การติดต่อมักจะต้องอยู่ใกล้ชิดกันนาน ๆ จึงมักพบเป็นพร้อมกันหลายคนในครอบครัวเดียวกัน

เชื้อนี้จะเข้าไปทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุตาขาวและกระจกตา (ตาดำ)

ระยะฟักตัว 5-12 วัน


อาการ

แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

1. ระยะแรกเริ่ม มีอาการเคืองตา คันตา น้ำตาไหล ตาแดงเล็กน้อย และอาจมีขี้ตา ซึ่งมักจะเป็นที่ตาทั้ง 2 ข้าง อาการคล้ายกับเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้ออื่น ๆ จนบางครั้งแยกกันไม่ออก แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าพบว่ามีอาการเรื้อรังนาน 1-2 เดือน และอยู่ในท้องถิ่นที่มีโรคนี้ชุกชุม หรือมีคนในบ้านเป็นโรคนี้อยู่ก่อน ก็อาจให้การรักษาแบบโรคริดสีดวงตาไปเลย

ถึงแม้ไม่ได้รักษาในระยะนี้บางรายอาจหายได้เอง แต่บางรายอาจเข้าสู่ระยะที่ 2

2. ระยะที่เป็นริดสีดวงแน่นอนแล้ว การอักเสบจะลดน้อยลง ผู้ป่วยจะมีอาการต่าง ๆ ลดลงกว่าระยะที่ 1 แต่ถ้าพลิกเปลือกตาดู จะพบเยื่อบุตาหนาขึ้น และเห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ ที่เยื่อบุตาบน (ด้านในของผนังตาบน) นอกจากนี้จะพบว่ามีแผ่นเยื่อบาง ๆ ออกสีเทา ๆ ที่ส่วนบนสุดของตาดำ (กระจกตา) ซึ่งจะมีหลอดเลือดฝอยวิ่งเข้าไปในตาดำ แผ่นเยื่อสีเทาซึ่งมีหลอดเลือดฝอยอยู่ด้วยนี้เรียกว่า แพนนัส (pannus) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ (เยื่อตาขาวอักเสบจากการแพ้ อาจมีตุ่มเล็ก ๆ ที่เยื่อบุเปลือกตา แต่จะไม่มีแพนนัสที่ตาดำ)

ระยะนี้อาจเป็นอยู่นานเป็นแรมเดือน หรือแรมปี หากไม่ได้รับการรักษาก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3

3. ระยะเริ่มเป็นแผลเป็น ระยะนี้อาการเคืองตาลดน้อยลง จนแทบไม่มีอาการอะไรเลย ตุ่มเล็ก ๆ ที่เยื่อบุเปลือกตาบนเริ่มค่อย ๆ ยุบหายไป แต่จะมีพังผืดแทนที่กลายเป็นแผลเป็น ส่วนแพนนัสที่ตาดำยังคงปรากฏให้เห็น

ระยะนี้อาจกินเวลาเป็นแรมปี เช่นเดียวกับระยะที่ 2 การใช้ยารักษาในระยะนี้ไม่ค่อยได้ผล และจะเข้าสู่ระยะที่ 4

4. ระยะของการหายและเป็นแผลเป็น ระยะนี้เชื้อจะหมดไปเอง แม้จะไม่ได้รับการรักษา แพนนัสจะค่อย ๆ หายไป แต่จะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุนแรงทุกราย บางรายเป็นแล้วอาจหายได้เองในระยะแรก ๆ

ส่วนในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน มักจะมีการติดเชื้ออักเสบบ่อย ๆ ประกอบกับมีปัจจัยเสริมอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ขาดอาหาร ขาดวิตามิน เป็นต้น


ภาวะแทรกซ้อน

การติดเชื้อมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ ถึงแม้เชื้ออาจหายไปและอาการสงบลงแล้ว แต่ในระยะต่อมาซึ่งอาจนานเป็นปี ๆ คือในช่วงอายุมากขึ้นหรือเป็นผู้ใหญ่ ก็อาจเกิดอาการผิดปกติของตากำเริบบ่อยจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

ที่พบบ่อย ได้แก่ แผลเป็นที่บริเวณเปลือกตาบน จะดึงรั้งให้เปลือกตาม้วนเข้าด้านใน เรียกว่า อาการขอบตาม้วนเข้า (entropion)* ทำให้ขนตาแยงเข้าด้านใน (ขนตาเก) ไปตำถูกกระจกตา เกิดการอักเสบ และเป็นแผลกระจกตา ทำให้สายตาพิการได้

แผลเป็นอาจอุดกั้นท่อน้ำตา ทำให้น้ำตาไหลตลอดเวลาหรือไม่ก็อาจทำให้ต่อมน้ำตาไม่ทำงานและตาแห้งได้

นอกจากนี้ อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เป็นปัจจัยเสริมให้เกิดแผลกระจกตาและความเรื้อรังของโรค

หากปล่อยปละละเลย หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง ก็อาจทำให้ตาบอดได้

*อาการขอบตาม้วนเข้า (entropion) นอกจากริดสีดวงตาแล้ว ยังอาจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมสภาพของหนังตา ทำให้เปลือกตาม้วนเข้าด้านใน (ส่วนใหญ่จะเป็นที่ขอบตาล่าง) นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการติดเชื้อ การอักเสบ การบาดเจ็บ หรือการมีแผลเป็นที่เปลือกตา ผู้ที่เป็นขอบตาม้วนเข้าในมักมีขนตาเกร่วมด้วย ควรแก้ไขด้วยการผ่าตัด

ส่วนขนตาเก (trichiasis) ซึ่งหมายถึงอาการขนตาแยงเข้าด้านในนั้น ยังอาจเกิดจากการติดเชื้องูสวัด กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน การถูกสารเคมีหรือความร้อนที่เปลือกตา การบาดเจ็บ หรือการผ่าตัดเปลือกตา ควรแก้ไขด้วยการถอนขนตา หรือใช้ไฟฟ้าหรือความเย็นจี้ หรือฉายรังสี

นอกจากนี้ยังอาจพบความผิดปกติของเปลือกตาอีกชนิด คือ อาการขอบตาม้วนออก/ขอบตาแบะ (ectropion) ซึ่งพบที่ขอบตาล่าง มักพบเป็นความเสื่อมสภาพของหนังตาในผู้สูงอายุ อาจเกิดจากความผิดปกติโดยกำเนิด หรือพบร่วมกับโรคอื่น เช่น อัมพาตเบลล์ ตาโปนในผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษ เป็นต้น ทำให้ปิดตาได้ไม่มิด ผิวกระจกตาแห้ง และอาจกลายเป็นแผลกระจกตา นอกจากนี้อาจอุดกั้นทางเดินน้ำตา ทำให้น้ำตาไหลมากกว่าปกติ


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย

ในระยะแรก มักตรวจพบว่าตาทั้ง 2 ข้างมีน้ำตาไหล ตาแดงเล็กน้อย และอาจมีขี้ตา

ระยะต่อมาพบเยื่อบุตาหนาขึ้น และเห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ ที่เยื่อบุตาบน และแผ่นเยื่อสีเทาซึ่งมีหลอดเลือดฝอยอยู่ด้วย (ซึ่งเรียกว่า แพนนัส)

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การขูดเยื่อบุตาย้อมสีด้วย Geimsa stain หรือ immunofluorescein, การเพาะเชื้อ เป็นต้น


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

1. ในระยะแรกที่มีการติดเชื้อ แพทย์จะให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ได้แก่ อะซิโทรไมซิน (azithromycin) ซึ่งให้ผลดีและสะดวก คือ กินเพียงครั้งเดียว (เด็กให้ขนาด 20 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก., ผู้ใหญ่ขนาด 1 กรัม)

หรือใช้ยาป้ายตาเตตราไซคลีน วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เป็นเวลา 6 สัปดาห์

2. ถ้ามีภาวะแทรกซ้อน เช่น ถ้ามีภาวะตาแห้งให้ใช้น้ำตาเทียม

ถ้ามีขอบตาม้วนเข้าจากแผลเป็นที่เปลือกตาบน หรือภาวะขนตาเกเข้า แพทย์จะทำการผ่าตัดแก้ไข

ในรายที่เป็นแผลเป็นที่กระจกตา อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา (corneal transplantation)

ผลการรักษา ถ้าได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะตั้งแต่ระยะแรก ๆ ก็จะหายเป็นปกติ และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ถ้าปล่อยให้มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นแล้ว ก็จะมีความยุ่งยากในการรักษา


การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการคัน เคืองตา น้ำตาไหล ตาแดงเล็กน้อย มีขี้ตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ในท้องถิ่นที่มีโรคนี้ชุกชุม ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นริดสีดวงตา ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด


ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    ดูแลรักษาแล้วอาการไม่ทุเลา ใน 1 สัปดาห์
    ขาดยา ยาหาย หรือกินยาไม่ได้
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

การป้องกัน

    หมั่นล้างหน้าและล้างมือให้สะอาด โดยเฉพาะในเด็ก ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงหวี่ แมลงตอมตา
    กำจัดแมลงหวี่แมลงวัน โดยไม่ทิ้งขยะเรี่ยราด และกำจัดขยะให้ถูกวิธี
    หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
    หลีกเลี่ยงใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว

ข้อแนะนำ

1. โรคนี้ในอดีตพบได้บ่อยและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตาบอด แต่ปัจจุบันพบได้น้อยลงมาก เนื่องจากประชาชนมีสุขนิสัยที่ดี และชุมชนสาธารณูปโภคที่ดีขึ้น รวมทั้งมีระบบสาธารณสุขที่กระจายทั่วถึงและมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่กำจัดเชื้อริดสีดวงตาที่มีประสิทธิภาพ

2. โรคนี้ควรแยกออกจากเยื่อตาขาวอักเสบชนิดอื่น (ดู "เยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย, เยื่อตาขาวอักเสบจากไวรัส, เยื่อตาขาวอักเสบจากการแพ้" เพิ่มเติม) ควรสงสัยเป็นริดสีดวงตา เมื่อมีอาการอักเสบเรื้อรังเป็นเดือน ๆ และอยู่ในท้องถิ่นที่มีโรคนี้ชุกชุม

3. คำว่าริดสีดวงตา ชาวบ้านหมายถึง อาการเคืองตา คันตาเรื้อรัง ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการแพ้หรือจากการติดเชื้อริดสีดวงตา (trachoma) ก็ได้ ทั้ง 2 โรคนี้มีสาเหตุ อาการ ภาวะแทรกซ้อน และการรักษาต่างกัน

4. การรักษาริดสีดวงตา ต้องลงมือรักษาตั้งแต่ในระยะที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นระยะที่มีการติดเชื้อรุนแรง การใช้ยาปฏิชีวนะจะสามารถทำลายเชื้อ และป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อน (แต่ในระยะที่ 3 และ 4 เป็นระยะที่การติดเชื้อเบาบางลงแล้ว และเปลือกตาเริ่มเป็นแผลเป็น การใช้ยาปฏิชีวนะในระยะนี้จึงไม่ค่อยได้ประโยชน์ คือ ไม่สามารถลดหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้) และควรรักษาผู้ป่วยที่มีอยู่ในบ้านพร้อมกันทุกคน

 






















































รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย