บริการด้านอาหาร: อาหารเหมาะสำหรับ คนเป็นไทรอยด์เป็นพิษเราทุกคนต่างก็มีความเสี่ยงที่จะสามารถทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บหรือ อาการเจ็บป่วยได้ทั้งนั้น บางคนอาจเป็นโรคที่ไม่รุนแรงและสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่บางคนก็อาจเป็นโรคที่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงที่อาจจะมีความเสี่ยงที่จะมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆได้ จึงต้องคอยระวังในหลายเรื่องๆ เพื่อไม่ให้อาการของโรคที่เป็นอยู่กำเริบหรือรุนแรงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการดูแลในเรื่องของอาหารการกิน ก็มีส่วนที่จะช่วยทำให้เราปราศจากจากโรคภัยไข้เจ็บได้ คือเราจะต้องเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
นอก
จากนี้ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้เช่นเดียวกัน ซึ่งโรคภัยไข้เจ็บที่เราจะมาพูดถึงในวันนี้ ก็คือ โรคไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานอาหารเช่นกัน ซึ่งโรคไทรอยด์เป็นพิษ ไทรอยด์เป็นพิษ คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป อัตราการทำงานของระบบเมตาบอลิซึมจะเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยจะเผาผลาญพลังงานและสลายไขมันในร่างกายได้มาก ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานหนักขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้น้ำหนักลงอย่างรวดเร็วผิดปกติ รวมถึงหัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปจนทำให้ไทรอยด์เป็นพิษ เพราะว่าไอโอดีนนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญของการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์นั่นเอง วันนี้เราจะมาแนะนำอาหารที่เหมาะกับคนที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยได้เลือกรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสม
สำหรับการรักษาโรคไทรอยด์ให้ได้ผลดีที่สุด ก็คือ ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยควรรับประทานอาหารที่มีโซเดียมให้มากขึ้น แต่ยังต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อลดภาวะขาดน้ำและรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอเพื่อป้องกันกระดูกบาง เนื่องจากการป่วยเป็นโรคนี้สูญเสียมวลกระดูกได้ง่ายกว่าปกติ ส่วนอาหารที่ควรรับประทานคือ วิตามินดี เพราะการได้รับวิตามินดีอย่างเหมาะสมในระหว่างการรักษาและหลังการรักษา
สำหรับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียเนื้อกระดูก และช่วยเพิ่มเนื้อกระดูกขึ้นมาได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยทั้งไทรอยด์เป็นพิษและภาวะขาดไทรอยด์ หากขาดธาตุทองแดงจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและคอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นร่างกายจึงควรได้รับทองแดงที่มีความจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ควรรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุทองแดงในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสารอาหารชนิดนี้มีอยู่มากใน เนื้อปู หอยนางรม กุ้งล็อบสเตอร์ ถั่วเปลือกแข็ง เนื้อวัว เมล็ดทานตะวัน ถั่วขาว ถั่วลูกไก่ ถั่วเหลือง เห็ดชิทาเกะ ข้าวบาร์เลย์ มะเขือเทศ และดาร์กช็อกโกแลต
ต่อมาอาหารประเภทสังกะสี ก็ควรรับประทาน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับโรคไทรอยด์ชนิดที่เป็นอยู่ ส่วนอาหารที่มีสังกะสีก็ได้แก่ เนื้อวัว หอยนางรม ปลาซาร์ดีน ถั่วเหลือง วอลนัท เมล็ดทานตะวัน เมล็ดอัลมอนด์ ขิง ธัญพืชและเมเปิ้ลไซรัป เป็นต้น และสุดท้ายคือ อาหารที่อุดมไปด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ ที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างวิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี มีหน้าที่ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ต่อสู้กับภาวะการถูกทำลายด้วยสารอนุมูลอิสระ และป้องกันการเสื่อมสภาพก่อนวัยของต่อมไทรอยด์ อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงได้แก่ องุ่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืชชนิดต่างๆ และชาเขียว เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารไอโอดีน เพราะแร่ธาตุดังกล่าวมีผลในการกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น เนื่องจากเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ต่อมจะนำไปใช้ผลิตฮอร์โมน เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยง โดยอาหารกลุ่มที่มีแร่ธาตุเหล่านี้สูง เช่น เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เห็ด กระเทียม เนื้อวัว เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อเวลาที่เราเจ็บป่วยหรือมีอาการผิดปกติต่างๆ ก็ควรที่จะเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย และต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เพียงเท่านี้ ก็จะทำให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรงได้ ห่างไกลจากโรคได้ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ก็อาจจะช่วยบรรเทาอาการป่วยได้ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการรับประทานอาหารก็ยังเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน อย่างไรก็ตาม ทางเราอยากให้ทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เพราะการไม่มีโรคถือเป็นลาภอันประเสริฐ