ผู้ป่วยโรคหัวใจ ดูแลอย่างไรให้ใจแข็งแรงโรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด (Heart Disease) คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของหัวใจสามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งนับเป็นโรคเรื้อรังร้ายแรงที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกรวมถึงผู้ป่วยในประเทศไทยนับหลายหมื่นคนต่อปี ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่มักไม่ทราบมาก่อนว่าตนเองมีภาวะของโรคหัวใจ และมักจะเริ่มรู้ตัวเมื่ออาการของโรคหัวใจเข้าสู่ระยะรุนแรง เช่น แน่นหน้าอกอย่างรุนแรง ปวดร้าวไปยังหัวไหล่ แขนหรือกรามด้านซ้าย รู้สึกจุกแน่นที่บริเวณกลางอกหรือลิ้นปี่ ซึ่ง ผู้ป่วยโรคหัวใจ เหล่านี้ควรได้รับการดูแลอย่างถูกต้องต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือดเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยสามารถแบ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
เพศ เพศชายมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือดได้มากกว่าเพศหญิง
อายุ ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
พันธุกรรม หากคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือดก็มีโอกาสถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้
ปัจจัยที่ควบคุมได้
โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักตัวเกิน
โรคความดันโลหิตสูง
ระดับไขมันในเลือดสูง
ผู้เป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
การสูบบุหรี่เป็นประจำ
ความเครียด การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
การขาดการออกกำลังกาย ขยับร่างกายน้อย
อาการความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วยโรคหัวใจ
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าอาการเริ่มต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือดจะไม่แสดงออกมาอย่างชัดเจนในระยะแรกแต่จะเริ่มสังเกตได้ถึงความผิดปกติ เมื่ออาการของโรคหัวใจเข้าสู่ระยะรุนแรงหรืออาการของโรคหัวใจกลับมากำเริบซ้ำ ได้แก่
อาการเจ็บแน่นบริเวณหน้าอกคล้ายกับมีบางอย่างมากดทับที่บริเวณทรวงอกเยื้องไปทางด้านซ้าย โดยผู้ป่วยมักมีอาการแน่นหน้าอกติดต่อกันนานเกิน 20 นาที
ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือดบางรายอาจรู้สึกแน่นร้าวไปยังบริเวณอื่น เช่น หัวไหล่ แขน รู้สึกจุกแน่นที่บริเวณลิ้นปี่ คอ และกรามด้านซ้าย
หายใจเหนื่อยหอบ หายใจไม่ทั่วท้องโดยเฉพาะเมื่อต้องออกแรง
มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน
มือเย็นเท้าเย็น เหงื่อไหลออกมากผิดปกติ
วิธีตรวจวินิจฉัยและรักษา ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด
หากผู้ป่วยมีอาการบ่งชี้เกี่ยวกับโรคหัวใจที่ได้กล่าวมาข้างต้น สิ่งที่ควรทำทันทีคือรีบนำผู้ป่วยเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเร่งด่วนโดยแพทย์จะเริ่มขั้นตอนการซักประวัติอย่างละเอียดพร้อมทั้งสอบถามระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีภาวะแน่นหน้าอก จากนั้นจึงเริ่มขึ้นตอนการวินิจฉัยหัวใจอย่างละเอียดด้วยวิธีเหล่านี้
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เพื่อตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ จังหวะการเต้นหัวใจและการนำไฟฟ้าภายในกล้ามเนื้อหัวใจ
การใช้คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ การบีบและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้การใช้คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจยังช่วยทำให้แพทย์มองเห็นขนาดและรูปร่างของหัวใจรวมถึงระบบการไหลเวียนของเลือดในหัวใจได้อีกด้วย
การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiovascular MRI: CMR) เป็นการตรวจหัวใจด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวในขณะที่หัวใจกำลังทำงาน
การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography: CT Scan) ด้วยการฉายรังสีจากภายนอกเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือด
การเดินสายพาน (Exercise stress test: EST) โดยแพทย์อาจให้ผู้ป่วยตรวจสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินบนสายพาน (treadmill) ร่วมกับการติดอุปกรณ์ electrode ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อบันทึกค่าตัวเลขต่าง ๆ และใช้เป็นข้อมูลวิเคราะห์สมรรถภาพการทำงานของหัวใจ
ซึ่งวิธีเหล่านี้เป็นวิธีตรวจหาโรคหัวใจที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นวิธีที่มีความแม่นยำ ทำได้ง่ายและไม่ต้องใช้การผ่าตัดเพื่อสวนหัวใจอย่างสมัยก่อน ช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาโรคหัวใจได้อย่างทันท่วงทีและเหมาะกับระดับความรุนแรงของโรคโดยมีวิธีการรักษาโรคหัวใจ ดังนี้
การรักษาโรคหัวใจด้วยการใช้ยา แพทย์จะใช้ยาเพื่อการรักษาและควบคุมโรคให้อยู่ในระดับปกติ เช่น ยาควบคุมความดันโลหิตสูง ยาลดไขมัน ยารักษาโรคเบาหวาน ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
การรักษาโรคหัวใจด้วยการผ่าตัดทำบอลลูนหัวใจและใส่ขดลวด (stent) เพื่อช่วยขยายขนาดหลอดเลือดหัวใจและทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก
การผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft: CABG) เพื่อต่อเส้นเลือดที่เป็นทางเบี่ยงขึ้นมาใหม่ ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ป่วยโรคหัวใจควรดูแลตัวเองอย่างไร
สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้ยา การผ่าตัดบอลลูนหัวใจและการทำบายพาสหัวใจมาแล้วนั้น ควรดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้อาการโรคหัวใจกำเริบหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดังนี้
ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ต้องรักษาตัวด้วยการใช้ยาจะต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และเข้าพบแพทย์ทุกครั้งตามกำหนดนัดหมาย
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยโรคหัวใจควรจำกัดปริมาณอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล ไขมันและเกลือสูง หันมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
งดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มีค่า BMI อยู่ในช่วง 18.5-22.90
นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส พยายามไม่เครียดมากจนเกินไป
หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยแนะนำว่าควรออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 20-40 นาที เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับหัวใจ
ผู้ป่วยโรคหัวใจ สามารถออกกำลังกายได้หรือไม่ ?
คำถามที่ผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นกังวลคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจออกกำลังกายได้ไหม ? จะเป็นอันตรายต่อหัวใจหรือเปล่า ? โดยทั่วไปแล้วนั้นผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือดยังสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ รวมถึงผู้ป่วยโรคหัวใจยังสามารถเล่นกีฬาได้เหมือนคนทั่วไป เช่นเดียวกันแต่จะต้องเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ไม่ควรออกกำลังกายหนัก ๆ หรือหักโหมเกินไปเพราะอาจส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก
ยกเว้นในกรณีของผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบอุดตันเฉียบพลัน ภาวะหัวใจโต หัวใจล้มเหลว ที่ไม่แนะนำให้ออกกำลังกายด้วยตนเองแต่จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของนักกายภาพบำบัดที่ดูแลเกี่ยวกับโรคหัวใจอย่างใกล้ชิดเท่านั้น
สรุป
ผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังรุนแรงที่ไม่สามารถตรวจพบอาการของโรคได้อย่างเด่นชัดในช่วงแรกแต่จะเริ่มแสดงอาการของโรคเมื่อเข้าสู่ระยะรุนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกคล้ายกับมีวัตถุหนัก ๆ กดทับที่ทรวงอกเยื้องไปทางด้านซ้าย ผู้ป่วยบางรายอาจปวดร้าวไปยังบริเวณไหล่ แขน และกรามซ้าย หายใจเหนื่อยหอบ อ่อนเพลียง่าย หน้ามืด เมื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคและรับการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ผู้ป่วยโรคหัวใจควรดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยควบคุมโรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือดให้อยู่ในระยะสงบรวมถึงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา