ยานยนต์ ขนส่ง บริการ ขายสินค้าฟรีทั่วไทย เวบบอร์ดโพสฟรี รองรับ SEO

หมวดหมู่ทั่วไป => แนะนำโฆษณาเลื่อนประกาศได้ => ข้อความที่เริ่มโดย: siritidaphon ที่ วันที่ 6 ธันวาคม 2023, 10:48:41 น.

หัวข้อ: อาการหลังจัดฟันมีอะไรบ้าง บรรเทาอาการอย่างไรดี
เริ่มหัวข้อโดย: siritidaphon ที่ วันที่ 6 ธันวาคม 2023, 10:48:41 น.
หากคุณมีปัญหาฟันจนถึงคราวต้องจัดฟัน แต่ก็กังวลเกี่ยวกับอนาคตว่าจะมีอาการหลังจัดฟันอะไรบ้าง อาการหนักเบามากน้อยแค่ไหน แล้วมีบรรเทาอาการอย่างไรได้บ้าง


อาการหลังจัดฟันที่คุณควรรู้มีอะไรบ้าง

1. อาการปวดฟันหลังการจัดฟัน

เกิดจากแรงดันฟันไปกดหลอดเลือดเพื่อให้ฟันเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่คุณหมอวางแผนการรักษาเอาไว้ จะทำให้กระดูกรากฟันด้านที่ถูกกดเริ่มละลายตัวเพื่อให้ฟันเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่คุณหมอต้องการ โดยที่กระดูกฝั่งตรงข้ามจะเกิดการเสริมสร้างใหม่และทำให้ฟันโยกตามมา ทั้งนี้อาการปวดฟันมักเกิดขึ้นเฉพาะจุดที่คุณหมอปรับเท่านั้น คนไข้จึงรู้สึกปวดแค่จุดนั้นเพียงจุดเดียว โดยทั่วไปแล้วอาการปวดจะเริ่มเกิดขึ้นหลังการปรับเครื่องมือประมาณ 8 ชั่วโมง จากนั้นจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 3 – 5 วัน ทั้งนี้หากรู้สึกปวดจนทนไม่ไหว แนะนำให้ทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อบรรเทาอาการ


2. พูดคุยไม่สะดวก

อันเนื่องมาจากเครื่องมือจัดฟันเข้ามาอยู่ในช่องปากและขัดขวางการเคลื่อนไหวของริมฝีปากและลิ้น ส่งผลให้การออกเสียงคำบางคำผิดแปลกไปจากเดิม ซึ่งในช่วงแรกช่องปากของเรายังไม่คุ้นชินและอาจก่อให้เกิดความรู้สึกระคายเคืองในช่องปาก สร้างความลำบากในการออกเสียงเพราะขยับปากได้ไม่สะดวกเหมือนตอนที่ยังไม่ได้ใส่เครื่องมือจัดฟัน แต่เมื่อร่างกายปรับตัวและเริ่มชินกับเครื่องมือจัดฟันแล้ว เราก็จะเริ่มออกเสียงพูดคุยได้ตามปกติค่ะ


3. เศษอาหารติดซอกฟันง่ายขึ้น

เนื่องจากช่องปากของเรามีเครื่องมืออยู่ภายในตลอดเวลา ทำให้การทำความสะอาดเป็นไปได้ยากขึ้น นอกจากเศษอาหารจะหลุดเข้าไปติดตามซอกฟันแล้ว ยังติดเครื่องมือจัดฟันง่ายอีกด้วย และที่สำคัญเศษอาหารที่ตกค้างเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดกลิ่นปากตามมาได้อีกด้วยค่ะ ทางที่ดีควรแปรงฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหารร่วมกับใช้เครื่องมือทำความสะอาดอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน แปรงกระจุก และน้ำยาบ้วนปาก


4. เป็นแผลร้อนใน

เกิดจากลวดจัดฟันและแบร็คเก็ตข่วนภายในช่องปากขยับหรือเสียดสีไปมาตลอดเวลาจนเกิดการระคายเคืองและเกิดแผลตามมา นอกจากนี้ยังรวมไปถึงลวดเหล็กของเครื่องมือที่แหลมเกิดทิ่มเหงือกของเราขึ้นมาอีกด้วย ทั้งนี้คนไข้สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการนำขี้ผึ้งมาปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ และทาไปยังบริเวณที่แหลมคมเพื่อปิดไม่ให้ลวดทิ่มเหงือกซ้ำ นอกจากนี้สามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการร่วมด้วยก็ได้ค่ะ


5. เหงือกร่น

เกิดจากเครื่องมือจัดฟันไม่เหมาะสมกับสภาพของฟันหรือไม่เข้ารูปกับขากรรไกร ทำให้เครื่องมือบีบรัดฟันกับเหงือก ส่งผลให้เหงือกร่น นอกจากนี้ยังมีอีก 2 ความเสี่ยงที่เกิดจากพฤติกรรมของคนไข้เอง นั่นคือการจัดฟันแฟชั่นโดยที่ไม่ได้มีปัญหาฟันและจัดกับคลินิกเถื่อน หรือตัวคนไข้เองละเลยการเข้าพบคุณหมอฟันตามนัดหมาย ส่งผลให้เครื่องมือที่หมดอายุการใช้งานแล้วยังคงอยู่ในช่องปากนานเกินไป นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการแปรงฟันผิดวิธี หนักมือเกินไปหน่อย หรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนแข็งมาก ส่งผลให้เหงือกร่นได้ด้วยเช่นกันค่ะ


6. เหงือกบวม

เป็นอีกหนึ่งในอาการหลังจัดฟันที่เกิดขึ้นได้บ่อยโดยมาจาก 3 สาเหตุ ได้แก่ การเคลื่อนที่ของฟัน เนื่องจากเครื่องมือจัดฟันจะดึงรั้งให้ฟันเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการอย่างรวดเร็วตามแผนการรักษาของคุณหมอ ทำให้ระคายเคืองต่อเหงือกจนเหงือกบวมแดง, ตัวเครื่องมืออยู่ติดชิดกับเหงือกมากเกินไป จึงไปรบกวนเนื้อเยื่อภายในช่องปากและเกิดเหงือกอักเสบตามมา และที่สำคัญยังเกิดจากการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ทั่วถึงทำให้เศษอาหารที่ติดอยู่กลายเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของแบคทีเรียและเจริญเติบโตอยู่ตามเครื่องมือจัดฟันหรือซอกฟันมากขึ้น จนก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเหงือกได้


7. ฟันโยก

เกิดจากเครื่องมือจัดฟันกำลังเคลื่อนฟันของคุณทีละนิด ในช่วงแรกคนไข้อาจไม่รู้สึกชินมากนักเพราะอาจไม่เคยจัดฟันมาก่อนแต่อาการนี้ถือเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นหลังจากปรับเครื่องมือนะคะ โดยทั่วไปแล้วอาการนี้จะเกิดขึ้นประมาณ 5 – 7 วันหลังการจัดฟัน หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ดีขึ้นค่ะ นอกจากนี้อาจเกิดจากการใส่เครื่องมือจัดฟันเป็นเวลานานเกินไปด้วยนะคะ ในช่วงระหว่าง 7 วันนี้แนะนำให้ระมัดระวังในการรับประทานอาหารโดยการตัดแบ่งอาหารออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้รับประทานง่ายและไม่เป็นภาระต่อฟันและเหงือกมากเกินไป รวมถึงเข้าพบคุณหมอตามนัดหมายทุกครั้งด้วยเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องมือจัดฟันซึ่งนอกจากจะช่วยให้ฟันไม่โยกง่ายแล้ว ยังช่วยให้ผลการรักษาเป็นไปตามแผนของคุณหมอด้วยค่ะ


9. เครื่องมือจัดฟันหลุด

หนึ่งในปัญหาที่คนจัดฟันส่วนใหญ่ประสบนั่นคือเครื่องมือจัดฟันหลุด โดยมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตซะเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการไม่ระมัดระวังในการรับประทานอาหาร ใช้ฟันบดเคี้ยวอาหารแข็งหรือเหนียวโดยไม่ได้หั่นแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อน, นอนกัดฟันโดยไม่รู้ตัว, ใช้ลิ้นดุนฟันเล่นบ่อย ๆ , แปรงฟันแรงเกินไป, ใช้แปรงขนแข็งเกินไป, การเคลื่อนตัวของฟันในคนไข้ที่มีฟันซ้อน ฟันเก หรือฟันเรียงตัวกันอย่างหนาแน่น ส่งผลให้เครื่องมือจัดฟันหลวมและหลุดออกมา ในกรณีที่เครื่องมือจัดฟันหลุดและมีเหล็กจัดฟันทิ่มออกมาไม่มากแต่ยังโดนกระพุ้งแก้มอยู่ แนะนำให้คนไข้ใช้ขี้ผึ้งที่คุณหมอให้มาปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วแปะไปที่ปลายเหล็กเพื่อป้องกันเหล็กทิ่มเหงือกจนเกิดบาดเรื้อรังตามมา ทั้งนี้หากเครื่องมือจัดฟันหลุดแม้ว่าจะยังไม่ถึงเวลานัดก็ตาม ควรรีบพบคุณหมอเพื่อหาทางแก้ไขโดยเร็วที่สุด เพราะหากเครื่องมือจัดฟันหลุดบ่อยอาจส่งผลทำให้ยืดระยะเวลาจัดฟันให้นานขึ้นได้นั่นเองค่ะ


มีวิธีบรรเทาอาการได้อย่างไรบ้าง

    บ้วนน้ำเกลือเพื่อบรรเทาอาการปวดและลดอาการอักเสบ
    ทายาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเป็นเวลา 7 วัน ได้แก่ ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์จะจ่ายยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
    กรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อหรือมีหนอง แพทย์จะจ่ายยาอะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) หรือเมโทรนิดาโซล (Metronidazole)
    แต่หากทานยาครบ 7 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจมีสาเหตุมาจากรากฟัน ให้รีบกลับมาพบแพทย์ทันที ไม่ฝืนทานต่อเพราะยามีผลต่อกระเพาะอาหาร
    งดรับประทานอาหารที่แข็งหรือเหนียวมากเกินไป เช่น ลูกอม หมากฝรั่ง น้ำแข็ง เนื้อวัว ฝรั่ง ข้าวโพด เพื่อป้องกันเครื่องมือจัดฟันเสียหาย
    รับประทานอาหารช่วยลดอาการปวด เช่น น้ำแข็งใส ไอศกรีม สมูทตี้ โยเกิร์ต
    กรณีที่ไม่ชอบทานของเย็น แนะนำให้ใช้ผ้าขนหนูห่อน้ำแข็งประคบตรงบริเวณที่ปวด
    หั่นอาหารเป็นชิ้นเล็กเพื่อให้รับประทานอาหารง่ายขึ้นและป้องกันเศษอาหารติดเครื่องมือ
    กรณีที่เหล็กทิ่มกระพุ้งแก้ม ให้ทาขี้ผึ้งที่คุณหมอให้มาไปยังส่วนที่เครื่องมือทิ่มกระพุ้งแก้มอยู่
    กรณีที่มีแผลร้อนในจากเครื่องมือทิ่ม ให้ทายาไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone) เพื่อบรรเทาอาการ
    แปรงฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหารเพื่อป้องกันเศษอาหารติดซอกฟันหรือเครื่องมือที่เป็นสาเหตุของอาการปวดฟัน
    นอกจากนี้ควรใช้ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน แปรงกระจุก และน้ำยาบ้วนปากร่วมด้วย เพื่อการทำความสะอาดที่ล้ำลึก
    ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกิดจากความเคยชินที่ทำให้ฟันเสียหาย เช่น ใช้ลิ้นดุนฟัน กัดฟันแสดงอารมณ์ กัดเล็บ หรือแม้แต่นอนกัดฟัน
    หากพบความผิดปกติเกี่ยวกับช่องปากหลังติดเครื่องมือ ให้รีบพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอมาตามนัดหมาย
    มาตามนัดหมายของคุณหมอทุกครั้ง เนื่องจากเครื่องมือจัดฟันมีอายุการใช้งานตามที่คุณหมอได้กำหนดไว้ หากไม่เข้าไปเปลี่ยนเครื่องมือก็อาจเสี่ยงต่อเครื่องมือมีปัญหา มีผลต่อระยะเวลารักษาที่ยืดออกไป


อาการหลังจัดฟันมีอะไรบ้าง บรรเทาอาการอย่างไรดี อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.idolsmiledental.com/ (https://www.idolsmiledental.com/)